การเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
ผู้จัดทำด.ช.บุญรักษ์ จงใจสุรธรรม ชั้น
ม.2/2 เลขที่ 12ด.ช.อัมรินทร์ ทองเรือนดี ชั้น
ม.2/2 เลขที่ 21ด.ญ.มณฑาทอง สว่างศรี ชั้น
ม.2/2 เลขที่ 28ด.ญ.มณฑาทิพย์ สว่างศรี ชั้น
ม.2/2 เลขที่ 29 การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(IS) รหัสวิชา120202 โรงเรียนกาญจนาภิเกวิทยาลัย
สุพรรณบุรีภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2558สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต9
ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
ผู้ศึกษา ด.ช.บุญรักษ์ จงใจสุรธรรม เลขที่ 12
ด.ช.อัมรินทร์ ทองเรือนดี เลขที่ 21
ด.ญ.มณฑาทอง สว่างศรี เลขที่ 28
ด.ญ.มณฑาทิพย์ สว่างศรี เลขที่ 29
ครูที่ปรึกษา นางรัตนา นวีภาพ
ระดับการศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
สุพรรณบุรี
รายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ ( Independent
Study : IS2)
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาทดลองทำอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุก และเปรียบเทียบว่าอาหารปลาดุกที่ขายตามท้องตลาดกับที่ทำขึ้นมาเองชนิดไหนที่ทำให้ปลาดุกเจริญเติบโตดีกว่ากัน
และเพื่อศึกษาวิธีทำอาหารปลาดุก
กลุ่มตัวอย่างเป็น
ปลาดุกสายพันธุ์รัสเซีย จำนวน 50 ตัว โดยซื้อและเลือกปลาที่อายุ ขนาดเท่าๆกัน วัสดุส่วนผสมที่ใช้ทำอาหารประกอบด้วยรำละเอียด
ปลาป่น ปลายข้าว บ่อเลี้ยงปลา และปลาดุก บันทึกข้อมูลโดยใช้สถิติการเจริญเติบโตของปลาดุก
ผลการศึกษาพบว่า
อาหารปลาที่ซื้อ สามารถทำให้ปลาดุกเจริญเติบโตได้ดีกว่าที่ทำขึ้นเอง
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
เพราะได้รับความกรุณา แนะนำ ช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก อาจารย์รัตนา นวีภาพ ที่ให้การช่วยเหลือ
ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
สุดท้ายขอบคุณ อาจารย์ที่ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็วและขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลืออีกหลายท่าน
ซึ่งไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ได้หมด
คณะผู้ศึกษา
มกราคม
2559
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ.......................................................................................................................ข
กิตติกรรม .....................................................................................................................ค
สารบัญ..........................................................................................................................ง
บทที่
บทที่
1 บทนำ
-ที่มาและความสำคัญ...................................................................................................
1
-วัตถุประสงค์................................................................................................................
1
-ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ..........................................................................................
1
-สมมติฐาน....................................................................................................................
2
-ขอบเขตการศึกษา.......................................................................................................
2
บทที่
2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปลาดุก....................................................................................
3
-อาหารปลาดุก.............................................................................................................
10
-วิธีทำอาหารปลาดุก....................................................................................................
11
-คุณค่าทางโภชนาการของปลาดุก............................................................................... 13
บทที่ 3 อุปกรณ์ และการทดลอง
-อุปกรณ์.......................................................................................................................
15
-การดำเนินการทดลอง.................................................................................................
15
-การเตรียมบ่อ
และเลี้ยงปลา.......................................................................................
17
บทที่
4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
-ตารางบันทึกผล...........................................................................................................
18
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล
-วัตุประสงค์ของการศึกษา..............................................................................................
20
-สมมติฐานของการศึกษา................................................................................................
20
-ขอบเขตการศึกษา..........................................................................................................
20
-วิเคราะห์ข้อมูล...............................................................................................................
20
-สรุปผลการศึกษา............................................................................................................
21
-การอภิปรายผล...............................................................................................................
21
-ข้อเสนอแนะ....................................................................................................................
21
บรรณานุกรม......................................................................................................................
22
ภาคผนวก...........................................................................................................................
23
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากปัจจุบันมีเกษตรกรที่เลี้ยงปลาควบคู่กับการเพาะปลูก
เพื่อสร้างอาชีพเสริม รายได้เสริม
และใช้พื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และเป็นการเพิ่มคุณค่า แร่ธาตุ สารอาหารให้แก่ดิน นอกจากนี้ยังเป็นการปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
ในการเลี้ยงปลา เราต้องคำนึงว่า
ปลาที่จะเลี้ยงนั้นกินอาหารประเภทไหน
แต่ปัจจุบันเกษตรกรมักเลี้ยงปลาด้วยอาหารปลาสำเร็จรูป
ซึ่งปลาดุกที่เราศึกษานั้นเป็นปลากินเนื้อ และคาร์โบไฮเดรต คณะผู้จัดทำจึงศึกษาวิธีการทำอาหารปลาดุกจาก
ปลายข้าวสุก รำ และปลาป่น เนื่องจากหาง่าย ประหยัด มีคุณค่าทางอาหาร
เหมาะสมกับปลาที่จะเลี้ยง และไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อม
คณะผู้จัดทำ จึงศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
และสามารถช่วยเกษตรกรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาวิธีการทำอาหารปลา
2.เพื่อศึกษาและทดลองว่าอาหารปลาตามท้องตลาดกับอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
ชนิดไหนที่ปลาเติบโตได้ดีกว่ากัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ลดใช้ค่าใช้จ่าย
และเพิ่มรายได้
2.ใช้เป็นอาชีพเสริมได้
สมมติฐานของการศึกษา
ถ้าอาหารปลาที่ทำเองดีกว่าอาหารปลาที่มีตามท้องตลาดแล้วปลาที่กินอาหารปลาที่ทำเองจะเจริญเติบโตดีกว่าปลาที่กินอาหารที่มีตามท้องตลาด
ขอบเขตการศึกษา
จำนวนปลาตัวอย่าง 50 ตัว แบ่งเป็น 2
ฝั่ง ฝั่งละ 25ตัว
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่อง
การเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัย
ออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปลาดุก
2.อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุก
3.วิธีทำอาหารปลาดุก
4.
คุณค่าทางโภชนาการของปลาดุก
1.1 สายพันธุ์ปลาดุก
ในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาจำพวกปลาดุกอยู่หลายพันธุ์ แต่ที่รู้จักและนิยมบริโภคกันมากมีอยู่ 4
พันธุ์ คือ ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย
ปลาดุกบิ๊กอุย และปลาดุกเทศ
ปลาดุกยักษ์หรือปลาดุกรัสเซีย
ปลาดุกด้าน
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias
batrachus มีชื่อเรียกหลายชื่อ
เช่น ดุกเลา ดุกเอ็น ดุกเผือก พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นปลาไม่มีเกล็ด
ไม่มีครีบไขมัน ฐานของครีบหลังยาวเกือบตลอด
ส่วนหลังมีครีบหลังครีบก้นและครีบหางแยกออกจากกัน ที่ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง
แต่มีครีบอ่อนจำนวนมาก มีพุ่มดอกไม้อยู่ในโพรงกะโหลก
ส่วนหัวเหนือช่องเหงือกทั้งสองเพื่อช่วยในการหายใจ และที่ครีบอกมีก้านครีบ( เงี่ยง
) แข็งข้างละ 1 อัน ลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลมเป็นหยักทั้งสองข้าง
ลำต้นมีสีเทาปนดำหรือน้ำตาลปนดำ บริเวณท้องมีสีค่อนข้างขาว
เป็นปลาที่มีความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายได้ดี สามารถเลี้ยงรวมกันได้เป็นจำนวนมาก
เลี้ยงง่าย โตเร็ว อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำไหลและน้ำนิ่ง
ปลาดุกอุย
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias
macrocephalus เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด
ลำตัวยาวเรียว พบได้ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไปๆ สีของลำตัวค่อนข้างเหลือง
มีจุดประตามด้านข้างของลำตัวประมาณ 9-10
แถบ แต่เมื่อโตขึ้นจะเลือนหายไป ผนังท้องมีสีขาวถึงเหลืองเฉพาะบริเวณอกถึงครีบท้อง
ส่วนหัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายกระดูกท้ายทอยป้านและโค้งมนมาก
กะโหลกจะลื่นมีรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อย มีหนวด 4 คู่ โคนหนวดเล็ก
ปากไม่ป้านค่อนข้างมน ครีบอกมีครีบแข็งข้างละ 1 ก้าน (เงี่ยง)
มีลักษณะแหลมคมยื่นยาวเกินหรือเท่ากับครีบอ่อน ครีบหลังมีก้านครีบอ่อน 47-52 ก้าน
ครีบหางกลมไม่ใหญ่มากนัก มีสีเทาปนดำ ครีบหางไม่ติดกับฐานครีบหลังและครีบก้าน
ระยะจากปลายกระดูกท้ายทอยถึงจุดเริ่มต้นของครีบหลังประมาณ1 ใน 5
จากความยาวจากปลายสุดถึงปลายกระดูกท้ายทอย จำนวนกระดูกซี่กรองเหงือกประมาณ 32 ซี่
เนื้อมีสีเหลืองนุ่มมันมาก
ปลาดุกอุยที่อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ มีนิสัยชอบหาอาหารตามหน้าดิน
โดยใช้หนวดที่รับรู้ความรู้สึกได้ดีในการหาอาหารตามพื้นผิวหน้าดิน ปลาดุกอุยเป็นปลาที่ปราดเปรียวเคลื่อนไหวว่องไวมาก
ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปที่มีผสมของ
รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว และปลายข้าวได้
ทั้งยังฝึกให้ขึ้นมากินอาหารบริเวณใกล้ผิวน้ำได้ด้วย
ปลาดุกบิ๊กอุยหรือปลาดุกอุยเทศ
เป็นปลาดุกลูกผสม เกิดจากการผสมเทียมข้ามพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ปลาดุกยักษ์กับแม่พันธุ์ปลาดุกอุยลักษณะนิสัยจึงอยู่กลางระหว่างปลาดุกสองพันธุ์นี้ ซึ่งมีลักษณะภายนอก
และนิสัยการกินอาหารคล้ายปลาดุกอุยมาก มีผิวค่อนข้างเหลือง
โดยเฉพาะลำตัวและหางเห็นรอยจุดประสีขาวของปลาดุกอุยชัดเจนมาก แต่เมื่อโตขึ้นจุดประนี้จะหายไป ส่วนกะโหลกท้ายทอยจะแหลมเป็นหยัก 3
หยักเช่นเดียวกับปลาดุกยักษ์ หัวมีขนาดใหญ่
และคอดหางมีจุดประสีขาวเรียงตามขวางในระยะที่ปลายังเล็ก เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย
ทนทานต่อโรคพยาธิและสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับปลาดุกยักษ์
แต่มีเนื้อคล้าปลาดุกอุย คือ เนื้ออกสีเหลือง นุ่ม รสชาติอร่อย
กินอาหารได้แทบทุกชนิด เลี้ยงได้น้ำหนักมากในระยะเวลาสั้น
ทำให้เลี้ยงได้หลายรุ่นในรอบปี มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก
ในช่วงระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 60 วันจะได้น้ำหนักประมาณ 200-300 กรัมต่อตัว
หรือขนาด 4 - 5 ตัว ต่อกิโลกรัม
ปลาดุกเทศ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Clarias haripiinus บางครั้งเรียก ปลาดุกยักษ์หรือปลาดุกรัสเซีย เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาวหัวใหญ่และแบน
กะโหลกเป็นตุ่มๆ ไม่เรียบมีรอยบุ๋มตรงกลางเล็กน้อย กระดูกท้ายทอยมีลักษณะเป็นหยัก
3 หยัก มีหนวด 4 คู่ โคนหนวดใหญ่มีลักษณะป้านและแบนหนา ครีบหูมีเงี่ยงใหญ่
สั้นนิ่ม ไม่แหลมคมและส่วนของครีบอ่อนหุ้มถึงปลายครีบแข็ง ครีบหลังปลายครีบสีแดง
และมีแถบสีขาวพาดขวางคอดหาง มีความยาวของลำตัวเป็น 3 เท่าของความยาวส่วนหัว
ตัวสีเทาหรือสีเทาอมเหลือง ไม่มีจุดประตามลำตัว
แต่เมื่อโตขึ้นจะปรากฏลายคล้ายหินอ่อนอยู่ทั่วตัว ผนังท้องสีขาวตลอดจนถึงโคนหาง
มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด
มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูง
เป็นปลาที่ขนาดใหญ่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา
30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1
สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน
เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30
นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ 1
เดือน ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30
นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร
การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ
ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ
2 เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่
ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30
นาที่ โดยให้อาหาร 2
มื้อ ในกรณีปลาป่วย
หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ
การเลือกสถานที่
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้
1.
สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป
สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
2.
สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
3.
สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง
หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
4.
ทางคมนาคมสะดวก
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา
มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1.
บ่อใหม่
-
ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา
60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
-
ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่
โดยโรยให้ทั่วบ่อ
-
เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร
ทิ้งไว้ 3-5 วัน
จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา
2.
บ่อเก่า
-
ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่สุด
-
ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100
กิโลกรัม/ไร่
-
ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15
วัน
-
นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ
60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ
-
เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร
ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียว
ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง
7.5-8.5
ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้
7.5-8.5
การเตรียมพันธ์ปลา
การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง
ๆ ดังนี้
1.
แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก
ควรดูจาก
-
ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
-
มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
-
มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
2.
ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์
ซึ่งสังเกตจาก
-
การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว
ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
-
ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง
ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล
ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
-
ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน
การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง
เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15
นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค
ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
อัตราการปล่อย
เกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย
ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย
80,000-100,000 ตัว/ไร่
ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง
อาหารและการให้อาหาร
ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80%
เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
การเลือกซื้ออาหาร
ลักษณะของอาหาร
-
สีสันดี
-
กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน
-
ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น
-
การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
-
อาหารไม่เปียกชื้น
ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นรา
ประเภทของอาหารสำเร็จรูป
-
อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน
ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร
-
อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ
ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร –
1 เดือน
-
อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3
เดือน
-
อาหารปลาดุกใหญ่
ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน
- ส่งตลาด
1.3 สถานที่เลี้ยงปลาดุก
การเลือกสถานที่
ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้
1.
สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป
สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
2.
สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
3.
สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง
หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
4.
ทางคมนาคมสะดวก
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา
มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1.
บ่อใหม่
-
ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา
60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
-
ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่
โดยโรยให้ทั่วบ่อ
-
เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร
ทิ้งไว้ 3-5 วัน
จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา
2.
บ่อเก่า
-
ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่สุด
-
ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100
กิโลกรัม/ไร่
-
ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15
วัน
-
นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ
60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ
-
เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร
ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียว
ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง
7.5-8.5
ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้
7.5-8.5
2.อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุก
2.1อาหารสำเร็จ
อาหารสำเร็จรูป
มีระดับโปรตีนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาที่จะให้
มีหลายยี่ห้อและราคาแตกต่างกันไป วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปค่อนข้างง่าย เพียงแต่สาดอาหารลงในบ่อเลี้ยงให้ปลากินก็เสร็จแล้ว
แต่การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปนั้นจะต้องพิจารณาจากความคงทนในน้ำ
ควรอยู่ในน้ำได้นานไม่ต่ำกว่า 15 นาที ส่วนประกอบของอาหารควรละเอียด
มิฉะนั้นจะย่อยยาก และราคาต้องเหมาะสมด้วย
2.2อาหารธรรมชาติ
อาหารสด ได้แก่ ไส้ไก่ ไส้ปลา ปลาเป็ด
หรือเศษอาหารจากโรงงาน อาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ราคาถูก
ควรนำมาใช้เสริมให้แก่ปลาด้วย ก่อนนำมาใช้ควรบดให้ละเอียดและผสมรำ
การให้อาหารควรให้กินเป็นที่ และควรให้ที่เดิมทุกครั้ง อย่าสาดทั่วบ่อ
เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่ายขึ้น ติดโรคได้ง่าย การถ่ายน้ำบ่อยครั้งจะทำให้ปลาโตเร็วขึ้น
เพราะการที่ปลาได้น้ำใหม่บ่อยๆ ทำให้ปลามีความกระปรี้กระเปร่าและกินอาหารได้มาก
3.วิธีทำอาหารปลาดุก
3.1ส่วนผสมที่ใช้
3.1.1รำ
รำข้าวแยกออกเป็น 2
ชนิด คือ รำหยาบและรำละเอียด รำหยาบมีส่วนผสมของแกลบปน ทำให้คุณค่าต่ำกว่ารำละเอียดเพราะมีเยื่อใยสูงและมีแร่ซิลิกาปนในแกลบมาก
รำเป็นส่วนผสมของเพอริคาร์บ (pericarp) อะลิวโรนเลเยอร์ (aleuron
layer) เยอร์ม (germ) และบางส่วนของเอนโดสเปอร์ม
(endosperm)ของเมล็ด
รำหยาบมีโปรตีนประมาณ 8–10 เปอร์เซ็นต์ ไขมันประมาณ 7- 8
เปอร์เซ็นต์
ส่วนรำละเอียดมีโปรตีนประมาณ 12 – 15 เปอร์เซ็นต์
ไขมัน 12 – 13 เปอร์เซ็นต์
รำมีไขมันสูงจึงไม่ควรเก็บรำไว้นานเกิน
15 – 20
วัน เพราะจะมีกลิ่นจากการหืน
รำข้าวที่ได้จากการสีข้าวเก่ามีความชื้นต่ำทำให้เก็บได้นานกว่ารำข้าวใหม่ที่มีความชื้นสูง
เชื้อราขึ้นง่ายและเหม็นหืนเร็ว
ส่วนรำ-ข้าวนาปรัง
อาจมีสารตกค้างของยาฆ่าแมลงปะปนมาด้วย
รำข้าวเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีกรดอะมิ-โนค่อนข้างสมดุล มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินบีค่อนข้างมาก รำที่สกัดน้ำมันออกโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น
รำอัดน้ำมัน (hydraulic
press) หรือรำสกัดน้ำมัน
(solvent extract) จะเก็บได้นานกว่า
และมีปริมาณของโปรตีนสูงกว่ารำข้าวธรรมดา
เมื่อคิดต่อหน่วยน้ำหนัก แต่ปริมาณไขมันต่ำกว่า
คุณภาพของรำสกัดน้ำมันขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเพราะถ้าร้อนเกินไปทำให้คุณค่าทางอาหารเสื่อม โดยเพราะกรดอะมิโนและวิตามินบีต่าง ๆ ปัญหาในการใช้
พบว่ามักมีหินฝุ่นหรือดินขาวปนมา
ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง
หรืออาจมียากำจัดแมลง สารเคมี
หรือมีแกลบปะปน
3.1.2ปลาป่น
เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ
ให้โปรตีนสูงและมีคุณภาพดี ทำมาจากปลาเป็ดเศษปลาเล็กปลาน้อย หรือหัวปลาที่เหลือ จากโรงงานทำปลากระป๋อง
ทำให้ปลาป่นที่ผลิตได้มีคุณภาพหลากหลาย ดังนั้นในการซื้อขายปลาป่น
จึงมีการแบ่งเกรด ตามเปอร์เซนต์โปรตีนในปลาป่น โดยปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 1
จะมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 60% ปลาป่น ชั้นคุณภาพที่ 2 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 55%
และปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 3 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 50%
คุณสมบัติ
1 .มีโปรตีนสูงประมาณ
50-60 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและขั้นตอนการผลิตปลาป่น
2. มีกรดอะมิโน ไลซีน
และเมทไธโอนีนสูง
3.
มีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง
4. มีไวตามินบีสูง
โดยเฉพาะไวตามินบี 12 และ บี 2
ข้อจำกัดในการใช้
1.มีราคาแพง
2.มีการปลอมปนด้วยวัสดุอื่นที่มีราคาถูก
อาทิ ทราย เปลือกหอยบด ยูเรีย ขนไก่ เป็นต้น ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง
จะต้องระมัดระวังในการนำมาใช้
3.การใช้ปลาป่นระดับสูงเกินกว่า
10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะทำให้อาหารผสมมีราคาแพงแล้วยังมีผลทำให้เนื้อสุกร
และไข่กลิ่นคาวปลาด้วย
4.ปลาป่นมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ
มีโปรตีนแตกต่างกันมาก ต้องระวังในการเลือกซื้อปลาป่นให้ได้คุณภาพตามต้องการ
มิฉะนั้นจะมีผลทำให้สูตรอาหารที่คำนวณไว้ไม่เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ได้
3.2ประเภทของอาหารปลา
อาหารปลา
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อาหารสำหรับปลากินพืช
และอาหารสำหรับปลากินเนื้อ โดยมีสารอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
ใยอาหาร เหล็ก ไขมัน รวมถึงปริมาณของความชื้น บรรจุในปริมาณที่แตกต่างกัน
โดยที่อาหารสำหรับปลากินเนื้อนั้น จะมีโปรตีนผสมอยู่คิดเป็นร้อยละ 25-30
สูงกว่าปลาประเภทกินพืช ในขณะที่ปลากินพืช
ในบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูลีนาเพื่อช่วยในการเร่งสีของปลา
และยังแตกต่างกันไปตามประเภทลักษณะการหากินของปลาหรือสัตว์น้ำแต่ละชนิดอีกด้วย
อาหารแบบเม็ดกลม (Round Pellets)
เป็นอาหารประเภทที่คุ้นเคยมากที่สุด
มีลักษณะเป็นแบบเม็ดกลม เหมาะสมสำหรับปลาแทบทุกประเภทที่เป็นปลาสวยงามส่วนใหญ่
เช่น ปลาคาร์ป ปลาทอง ปลาหมอสี กรรมวิธีการผลิตนั้น
เริ่มจากการทำให้วัตถุดิบสุกด้วยความร้อน จากนั้นจึงผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยเครื่องจักรสำหรับบดอาหาร
และอบภายใต้อุณหภูมิสูง
ซึ่งการผลิตอาหารประเภทนี้จะทำให้โปรตีนและแป้งที่รวมกันเป็นเนื้อเดียวจับตัวกันได้
มีความนุ่ม เม็ดอาหารมีความสม่ำเสมอ
และป้องกันการสูญเสียคุณค่าทางอาหารเมื่ออยู่ในน้ำ
4.
คุณค่าทางโภชนาการของปลาดุก
ปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
อยู่ในอาหารหลักหมู่ที่หนึ่งในประเภทเนื้อสัตว์
โปรตีนในเนื้อปลาจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลา
ปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อยู่ในอาหารหลักหมู่ที่หนึ่งในประเภทเนื้อสัตว์
โปรตีนในเนื้อปลาจะถูกนำไปใช้ในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอไขมันที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง
ๆ โดยเฉพาะสมอง จะป้องกันการจับแข็งตัวของไขมันในเส้นเลือด วิตามิน
และแร่ธาตุที่มีอยู่ในเนื้อปลาจะควบคุมการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้ตามปกติ
ปลาดุกมีคุณค่าทางโปรตีนในปริมาณที่สูงมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ
เนื้อปลาดุก 100 กรัมจะประกอบขึ้นด้วยโปรตีนเป็นจำนวน 23.0 กรัม ขณะที่
ปลาตะเพียนมี 22.0 ปลากระบอก 20.7 ปลาช่อน 20.5 ปลาทู 20.0 เป็นต้น
4.1 เมนูปลาดุก
ปลาดุกมีเนื้ออกสีเหลือง
นุ่ม รสชาติอร่อยมีโปรตีนสูง ปลาดุกสามารถนำมาทำอาหารไทยได้หลากหลายชนิด
บทที่ 3
อุปกรณ์
และการทดลอง
ในการศึกษาครั้งนี้
ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา เรื่องการเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
ซึ่งมีวิธีการดังนี้
วัสดุ
1)รำละเอียด 500 กรัม
2)ปลาป่น 500 กรัม
3)ปลายข้าว 500 กรัม
4)บ่อเลี้ยงปลา
5)ปลาดุก 50 ตัว
6)กล้วย 2 ลูก
อุปกรณ์
1) ปลาดุกรัสเซียจำนวน 50 ตัว
2)
บ่อเลี้ยงปลา
การดำเนินการทดลอง
1.การทำอาหารปลา
1)เทปลาป่นใส่ในกะละมัง 500
กรัม
2)เทรำละเอียดผสมลงไปแล้วคนให้เข้ากัน
500 กรัม
3)ใส่ปลายข้าวประมาณ
500 กรัม คนให้เข้ากัน แล้วใส่น้ำลงไป พอให้สามารถปั้นเป็นก้อนได้
4)ปั้นให้เป็นก้อนๆ
แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ก็สามารถใช้ได้
2.การเตรียมบ่อ
และเลี้ยงปลา
1)เตรียมบ่อเลี้ยงปลา
โดยหาอิฐบล็อกมากั้นเป็น 2 ฝั่ง แล้วใส่น้ำลงไป
2)ใส่ปลาฝั่งละ
25 ตัว
3)ให้อาหารทุกๆวัน
โดยให้อาหารที่ทำเองในฝั่งหนึ่ง แล้วอีกฝั่งให้อาหารที่ซื้อมา โดยให้ทุกๆเช้า-เย็น
4)สังเกตการเจริญเติบโตของปลาทั้ง
2 ฝั่ง ทุกๆอาทิตย์
5)บันทึกผล
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกรัสเซียที่ใช้อาหารที่ทำเองเลี้ยง
และอาหารที่มีตามท้องตลาดเลี้ยง (สัปดาห์ที่ 1)
อาหารปลาที่ใช้เลี้ยง
|
ความยาวของปลาในสัปดาห์ที่
1 (ซม.)
|
อาหารปลาทำเอง
|
7.5
|
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
|
8
|
จากตาราง
พบว่า
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาดทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกรัสเซียที่ใช้อาหารที่ทำเองเลี้ยง
และอาหารที่มีตามท้องตลาดเลี้ยง (สัปดาห์ที่ 2)
อาหารปลาที่ใช้เลี้ยง
|
การเจริญเติบโตของปลาในสัปดาห์ที่ 2
(ซม.)
|
อาหารปลาทำเอง
|
8
|
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
|
8.5
|
จากตาราง
พบว่า
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาดทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
อาหารปลาที่ใช้เลี้ยง
|
ความยาวของปลาในสัปดาห์ที่ 3 (ซม.)
|
อาหารปลาทำเอง
|
8.5
|
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
|
9.5
|
ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกรัสเซียที่ใช้อาหารที่ทำเองเลี้ยง
และอาหารที่มีตามท้องตลาดเลี้ยง (สัปดาห์ที่ 3)
จากตาราง
พบว่า อาหารปลาที่มีตามท้องตลาดทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
อาหารปลาที่ใช้เลี้ยง
|
ความยาวของปลาในสัปดาห์ที่ 4 (ซม.)
|
อาหารปลาทำเอง
|
9
|
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
|
10.2
|
ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกรัสเซียที่ใช้อาหารที่ทำเองเลี้ยง
และอาหารที่มีตามท้องตลาดเลี้ยง (สัปดาห์ที่ 4)
จากตาราง
พบว่า
อาหารปลาที่มีตามท้องตลาดทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
ตารางแสดงการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างอาหารปลาที่ทำเองและอาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
สิ่งของที่ซื้อ
|
ราคา (บาท)
|
รวม(บาท)
|
1.รำ
|
10
|
40
|
2.ปลาป่น
|
20
|
|
3.ปลายข้าว
|
10
|
|
4อาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
|
65
|
65
|
จากตาราง
พบว่า
อาหารปลาที่ทำเองมีต้นทุนถูกกว่าอาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
บทที่
5
สรุปผล
อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาครั้งนี้
เพื่อ 1.เพื่อศึกษาว่าอาหารปลาตามท้องตลาดกับอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
ชนิดไหนที่ปลาเติบโตได้ดีกว่ากัน 2.เพื่อศึกษาวิธีการทำอาหารปลา ในภาคเรียน 2
ปีการศึกษา 2558 ซึ่งสามารถสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะได้ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.สมมติฐานของการศึกษา
3.ขอบเขตการศึกษา
4.วิเคราะห์ข้อมูล
5.สรุปผลการศึกษา
6.ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาว่าอาหารปลาตามท้องตลาดกับอาหารปลาที่ทำขึ้นเอง
ชนิดไหนที่ปลาเติบโตได้ดีกว่ากัน
2.เพื่อศึกษาวิธีการทำอาหารปลา
สมมติฐานของการศึกษา
ถ้าอาหารปลาที่ทำเองไดีกว่าอาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
แล้วปลาที่กินอาหารปลาที่ทำเองจะเจริญเติบโตดีกว่าปลาที่กินอาหารที่มีตามท้องตลาด
ขอบเขตการศึกษา
จำนวนปลาตัวอย่าง
50 ตัว แบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งละ 25ตัว
เลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์
วิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของปลาที่มีต่อเรื่องการเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน เช่น แสงแดดที่มีผลต่อน้ำของปลา
สรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาที่มีต่อกาศึกษาเรื่อง
การเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน อยู่ในระดับคุณภาพ ดีน้อยกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
การอภิปรายผล
จาการศึกษาเรื่อง
การเปรียบเทียบระหว่างอาหารปลาจากธรรมชาติกับอาหารปลาที่ซื้อ
ชนิดไหนปลาเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
1.อาหารที่ทำเอง
ทำให้ปลาเจริญเติบโตได้น้อยกว่าอาหารปลาที่มีตามท้องตลาด
อาจเป็นเพราะอาหารปลาที่ทำเองยังมีสารอาหารที่ปลาต้องการไม่มากพอ
2.ราคาอาหารปลาที่ทำเองถูกกว่าอาหารปลาที่ซื้อมาจากท้องตลาด
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีเวลาศึกษามากขึ้น
2.ควรพัฒนาอาหารปลาที่ทำเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บรรณานุกรม
http://www.rakbankerd.com/agriculture/
ภาคผนวก